วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์

นักทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการ


ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์



ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์
ซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) เป็นนายแพทย์ จิตแพทย์ และนักจิตวิทยาชาวออสเตรีย
เกิดเมื่อวันที่   06 พฤษภาคม ค.ศ. 1856
และเสียชีวิตเมื่อวันที   23 กันยายน ค.ศ. 1939
เป็นผู้สร้างทฤษฎีจิตวิเคราะห์
ซึ่งเป็นทฤษฎีทางด้านการพัฒนา Psychosexual


ฟรอยด์ได้กล่าวถึงพลังงานพื้นฐานทางจิตที่เรียกว่า  Libido ซึ่งเกิดมาพร้อมกับมนุษย์ พลังงานเหล่านี้เป็นแหล่งของแรงขับทางเพศของบุคคลทั้งหมด  โดยเน้นว่าชีวิตเพศของมนุษย์มิได้เริ่มเมื่อวัยหนุ่มสาว  หากแต่เริ่มมาตั้งแต่เด็กและจะค่อยๆ  พัฒนาเปลี่ยนรูปแบบเป็นลำดับขั้นขึ้นไป  แต่ถ้าการเปลี่ยนแปลงไม่เป็นไปตามขั้นจะมีการชะงัก (Fixation) หรือการถอยกลับ (Regression) ทำให้มีผลทะท้อนไปถึงบุคลิกภาพตอนโต

ฟรอยด์ได้แบ่งขั้นพัฒนาการทางเพศไว้  5  ขั้นตอน คือ
 1.ขั้นความสุขความพอใจบริเวณปาก
     มีอายุอยู่ในช่วงแรกเกิด-18 เดือนหรือวัยทารก ความพึงพอใจของวัยนี้จะอยู่ที่บริเวณช่องปาก ทารกพึงพอใจกับการใช้ปากทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสุข เช่น การดูด กลืน


2.ขั้นความสุขความพอใจบริเวณทวารหนัก          
            มีอายุอยู่ในช่วง 18 เดือน ถึง 3 ปี วัยนี้จะได้รับความพึงพอใจจากการขับถ่าย

3.ขั้นความพอใจบริเวณอวัยวะเพศ    
           จะอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 3 ถึง 5 ปี ความพึงพอใจของเด็กวัยนี้อยู่ที่อวัยวะสืบพันธุ์ เด็กจะสนใจอวัยวะเพศของตนและสนใจความความแตกต่างระหว่างเพศหญิงและเพศชาย
                                                                         


4.ขั้นแฝงหรือขั้นก่อนวัยรุ่น   
          มีอายุอยู่ในช่วง 7 ถึง 14 ปี ฟรอยด์กล่าวว่าเด็กวัยนี้จะมุ่งความสนใจไปที่พัฒนาการด้านสังคมและด้านสติปัญญา เป็นวัยที่พร้อมจะเรียนรู้การมีเหตุผล รู้ผิดชอบชั่วดี สนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัว

 5.ขั้นสนใจเพศตรงข้ามหรือขั้นวัยรุ่น
     วัยนี้เป็นวัยรุ่นเริ่มตั้งแต่อายุ 12 ปีขึ้นไป เด็กเริ่มสนใจเพศตรงข้าม มีแรงจูงใจที่จะรักผู้อื่น มีความต้องการทางเพศ ความเห็นแก่ตัวลดลงต้องการเป็นอิสระจากพ่อแม่ เป็นระยะเริ่มต้นของวัยผู้ใหญ่
                                                                                                


โครงสร้างบุคลิกภาพ (The personality structure)
   ฟรอยด์มีความเชื่อว่า ลักษณะจิตใจของบุคคลสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
   1.อิด (Id) เป็นเสมือนแรงจูงใจที่จะทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เป็นความต้องการของร่างกาย
   2.อีโก้ (Ego ) เป็นสิ่งที่จะทำห้อิดบรรลุตามจุดมุ่งหมาย
   3.ซุปเปอร์อีโก้ (Superego) เป็นส่วนที่เป็นมโนธรรมและศีลธรรม
 การทำงานของคนทั้ง 3 ประการจะพัฒนาบุคลิกภาพของบุคคลให้เด่นไปด้านใดด้านหนึ่งของทั้ง 3 ประการนี้ แต่บุคลิกภาพที่พึงประสงค์ คือ การที่บุคคลสามารถใช้พลังอีโก้เป็นตัวควบคุมพลังอิด และซูเปอร์อีโก้ให้อยู่ในภาวะที่สมดุลได้












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น