วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ทฤษฎีของ ลอว์เรนซ์ โคลเบิร์ก

นักทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการ

ทฤษฎีของ ลอว์เรนซ์  โคลเบิร์ก

พัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก
 โคลเบิร์ก เชื่อว่าพัฒนาการทางจริยธรรมเป็นผลจากการพัฒนาการของโครงสร้างทางความคิดความเข้าใจเกี่ยวกับจริยธรรม นอกจากนั้น โคลเบิร์ก ยังพบว่า ส่วนมากการพัฒนาทางจริยธรรมของเด็กจะไม่ถึงขั้นสูงสุดในอายุ ๑๐ ปี แต่จะมีการพัฒนาขึ้นอีกหลายขั้นจากอายุ ๑๑-๒๕ ปี การใช้เหตุผลเพื่อการตัดสินใจที่จะเลือกกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง จะแสดงให้เห็นถึงความเจริญของจิตใจของบุคคล การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม ไม่ได้ขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ของสังคมใดสังคมหนึ่งโดยเฉพาะ แต่เป็นการใช้เหตุผลที่ลึกซึ้งยากแก่การเข้าใจยิ่งขึ้นตามลำดับของวุฒิภาวะทางปัญญา

พัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์กออกเป็น 3 ระดับ 6 ขั้น
ระดับที่1 ระดับก่อนมีจริยธรรมหรือระดับกฎเกณฑ์สังคม
   ระดับนี้เด็กจะรับกฎเกณฑ์และข้อกำหนดของพฤติกรรมที่ ดี” “ไม่ดีจากผู้มีอำนาจเหนือตน 
   ขั้นที่1 การถูกลงโทษและการเชื่อฟัง 2-10ปี
   เด็กจะยอมทำตามคำสั่งผู้มีอำนาจเหนือตนโดยไม่มีเงื่อนไขเพื่อไม่ให้ตนถูกลงโทษ



  ขั้นที่2 กฎเกณฑ์เป็นเครื่องมือเพื่อประโยชน์ของตนอายุ 7-10ปี
    บุคคลจะเลือกทำตามความพอใจตนของตนเอง โดยให้ความสำคัญของการได้รับรางวัลตอบแทน

ระดับที่2 ระดับจริยธรรมตามกฎเกณฑ์สังคมอายุ
  โดยบุคคลจะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคมที่ตนเองอยู่ ตามความคาดหวังของครอบครัวและสังคม โดยไม่คำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นขณะนั้นหรือภายหลังก็ตาม  จะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคมโดยคำนึงถึงจิตใจของผู้อื่น
   ขั้นที่3 ความคาดหวังและการยอมรับในสังคม 10-15ปี
     บุคคลจะใช้หลักทำตามที่ผู้อื่นเห็นชอบ ใช้เหตุผลเลือกทำในสิ่งที่กลุ่มยอมรับโดยเฉพาะเพื่อน เพื่อเป็นที่ชื่นชอบและยอมรับของเพื่อน


   ขั้นที่4 กฎและระเบียบ อายุ13-16ปี
     ขั้นนี้แสดงพฤติกรรมเพื่อทำตามหน้าที่ของสังคม โดยบุคคลรู้ถึงบทบาทและหน้าที่ของเขาในฐานะเป็นหน่วยหนึ่งของสังคมนั้น จึงมีหน้าที่ทำตามกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่สังคมกำหนดให้ หรือคาดหมายไว้




ระดับที่3  ระดับเหนือกฎเกณฑ์สังคม
   พัฒนาการทางจริยธรรมระดับนี้ เป็นหลักจริยธรรมของผู้มีอายุ ๒๐ ปี ขึ้นไป ผู้ทำหรือผู้แสดงพฤติกรรมได้พยายามที่จะตีความหมายของหลักการและมาตรฐานทางจริยธรรมด้วยวิจารณญาณ ก่อนที่จะยึดถือเป็นหลักของความประพฤติที่    จะปฏิบัติตาม
    ขั้นที่สัญญาสังคมอายุ 20ปี ขึ้นไป
      บุคคลจะมีเหตุผลในการเลือกกระทำโดยคำนึงถึงประโยชน์ของคนหมู่มาก ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น สามารถควบคุมตนเองได้ เคารพการตัดสินใจที่จะกระทำด้วยตนเอง


   ขั้นที่หลักการคุณธรรมสากลอายุ 20ปี ขึ้นไป
     ขั้นนี้แสดงพฤติกรรมเพื่อทำตามหลักการคุณธรรมสากล โดยคำนึงความถูกต้องยุติธรรมยอมรับในคุณค่าของความเป็นมนุษย์ ละอายและเกรงกลัวต่อบาป พบในวัยผู้ใหญ่ที่มีความเจริญทางสติปัญญา



   สรุป
      โคลเบิร์ก เชื่อว่า พัฒนาการทางจริยธรรมจะมีความเกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางด้านความคิดเป็นเหตุเป็นผล บุคคลจะมีพัฒนาการทางจริยธรรมเป็นไปตามลำดับ ไม่มีการข้ามขั้น












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น