วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ทฤษฎีของ โรเบิร์ต เจ. ฮาวิกเฮิร์ส

นักทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการ

ทฤษฎีของ โรเบิร์ต เจ. ฮาวิกเฮิร์ส

แนวคิดของโรเบิร์ต  เจ. ฮาวิกเฮิร์ส
 ศาสตราจารย์โรเบิร์ต ฮาวิกเฮิร์ส  (Robert havighurst 1953-1972) ได้ให้ชื่อว่า งานที่มนุษย์ทุกคนจะต้องทำตามวัยว่า  งานพัฒนาการ หมายถึง  งานที่ทุกคนจะต้องทำในแต่ละวัยของชีวิต  สัมฤทธิ์ผลของงานพัฒนาการของงานแต่ละวัย    มีความสำคัญมากเพราะเป็นของการเรียนรู้งานพัฒนาขั้นต่อไป

ตัวแปรที่สำคัญในการพัฒนามี  3  อย่าง
  1.  วุฒิภาวะทางร่างกาย
  2.  ความมุ่งหวังของสังคมและกลุ่มที่แต่ละบุคคลเป็นสมาชิกอยู่
  3.  ค่านิยม แรงจูงใจ ความมุ่งหวังส่วนตัวและความทะเยอทะยานของแต่ละบุคคล
    3.1  ความพร้อมเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ  
    3.2  ความพร้อมเกิดจากการกระตุ้น  

การแบ่งพัฒนาการของมนุษย์
    พัฒนาการของมนุษย์ แบ่งออกเป็น 4 ด้านใหญ่ๆ คือ
 1.  พัฒนาการทางกาย เป็นการแบ่งพัฒนาการของมนุษย์ตามขั้นตอนในแต่ละวัน
 2.  พัฒนาการทางด้านความคิดหรือสติปัญญา ของเพียเจท์
 3.  พัฒนาการทางด้านจิตใจ ซึ่งแบ่งย่อยเป็น 
     3.1  พัฒนาการทางด้านจิตใจ-เพศ  ของฟรอยด์ 
     3.2  พัฒนาการทางด้านจิตใจ-สังคม  ของอีริคสัน 
 4.  พัฒนาการด้านจริยธรรม ของโคลเบริ์ก

พัฒนาการตามวัย
  ตามแนวความคิดของฮาวิคเฮอร์ท (Hovighurst) ได้แบ่งพัฒนาการของมนุษย์ออกเป็นวัยต่างๆได้ดังนี้
1.วัยเด็กเล็ก-วัยเด็กตอนต้น(แรกเกิด- 6 ปี) ในวัยนี้จะมีงานที่สำคัญดังนี้
   - การเรียนรู้ทางด้านร่างกาย เช่น การยกศีรษะ คลาน การทรงตัว การเดิน
   - การเรียนรู้ทางด้านการเปล่งเสียง การพูด
   - การเรียนรู้ในเรื่องการควบคุมการขับถ่าย
    
   
2.  วัยเด็กตอนกลาง (6-18 ปี) ในวัยนี้จะมีงานที่สำคัญ ดังนี้
    - พัฒนาทักษะทางด้านกายภาพ
   - เรียนรู้ที่จะแสดงบทบาทให้เหมาะสมกับเพศของตนเอง
   - พัฒนาในเรื่องการปรับตัวเข้ากับเพื่อนรุ่นเดียวกัน



3. วัยรุ่น (12-18 ปี) พัฒนาการที่สำคัญของบุคคล ในวัยนี้ คือ
  - พัฒนาความคิดรวบยอดและทักษะในการแก้ปัญหา
  - สามารถสร้างความสัมพันธ์อันดีและเหมาะสมกับเพื่อนรุ่นเดียวกัน ทั้งเพศเดียวกันและต่างเพศได้
  - พยายามปรับตัวเองให้เข้ากับการเปลี่ยนทั้งทางด้านร่างกายและอารมณ์  



4.  วัยผู้ใหญ่ตอนต้น  (18-35 ปี)  ในวัยนี้จะมีลักษณะที่สำคัญ  ดังนี้
      - เริ่มต้นประกอบอาชีพ
      - เริ่มสร้างครอบครัวของตนเอง
      - เรียนรู้ที่จะมีชีวิตร่วมกับคู่แต่งงาน



5. วัยกลางคน (35-60 ปี) งานที่สำคัญในวัยนี้ คือ
     - มีความรับผิดชอบต่อสังคม
     - มีความพยายามในการสร้างฐานะทางเศรษฐกิจ เพื่อความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว
     - รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ได้มากขึ้น
     - สามารถปรับตัวและทำความเข้าใจคู่ชีวิตของตนเองให้ได้



6. วัยชรา  (อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป)  งานที่สำคัญในวัยนี้ คือ
      - สามารถปรับตัวกับสภาพร่างกายที่เสื่อมถอยลง
      - สามารถปรับตัวได้กับการเกษียณอายุการทำงาน
      - สามารถปรับตัวได้กับการตายจากของคู่ครอ










 







              

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น