วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ทฤษฎีของเพียเจต์

นักทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการ

ทฤษฎีของเพียเจต์

ประวัติของเพียเจต์
จอห์น เพียเจต์ (พ.ศ. 2439 - 2523) Jean Piaget (ค.ศ.1896 - 1980) ผู้สร้างทฤษฎีพัฒนาการเชาวน์ปัญญา
ทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการเชาวน์ปัญญาที่ผู้เขียนเห็นว่ามีประโยชน์สำหรับครู คือ ทฤษฎีของนักจิตวิทยาชาวสวิส ชื่อ เพียเจต์ (Piaget)
เพียเจต์ได้รับปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์สาขาสัตวิทยาที่มหาวิทยาลัยNeuchatelประเทศสวิสเซอร์แลนด์
เพียเจต์ ( Piaget) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร
ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม

ทฤษฎีของ ลอว์เรนซ์ โคลเบิร์ก

นักทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการ

ทฤษฎีของ ลอว์เรนซ์  โคลเบิร์ก

พัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก
 โคลเบิร์ก เชื่อว่าพัฒนาการทางจริยธรรมเป็นผลจากการพัฒนาการของโครงสร้างทางความคิดความเข้าใจเกี่ยวกับจริยธรรม นอกจากนั้น โคลเบิร์ก ยังพบว่า ส่วนมากการพัฒนาทางจริยธรรมของเด็กจะไม่ถึงขั้นสูงสุดในอายุ ๑๐ ปี แต่จะมีการพัฒนาขึ้นอีกหลายขั้นจากอายุ ๑๑-๒๕ ปี การใช้เหตุผลเพื่อการตัดสินใจที่จะเลือกกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง จะแสดงให้เห็นถึงความเจริญของจิตใจของบุคคล การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม ไม่ได้ขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ของสังคมใดสังคมหนึ่งโดยเฉพาะ แต่เป็นการใช้เหตุผลที่ลึกซึ้งยากแก่การเข้าใจยิ่งขึ้นตามลำดับของวุฒิภาวะทางปัญญา

พัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์กออกเป็น 3 ระดับ 6 ขั้น
ระดับที่1 ระดับก่อนมีจริยธรรมหรือระดับกฎเกณฑ์สังคม
   ระดับนี้เด็กจะรับกฎเกณฑ์และข้อกำหนดของพฤติกรรมที่ ดี” “ไม่ดีจากผู้มีอำนาจเหนือตน 
   ขั้นที่1 การถูกลงโทษและการเชื่อฟัง 2-10ปี
   เด็กจะยอมทำตามคำสั่งผู้มีอำนาจเหนือตนโดยไม่มีเงื่อนไขเพื่อไม่ให้ตนถูกลงโทษ



  ขั้นที่2 กฎเกณฑ์เป็นเครื่องมือเพื่อประโยชน์ของตนอายุ 7-10ปี
    บุคคลจะเลือกทำตามความพอใจตนของตนเอง โดยให้ความสำคัญของการได้รับรางวัลตอบแทน

ระดับที่2 ระดับจริยธรรมตามกฎเกณฑ์สังคมอายุ
  โดยบุคคลจะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคมที่ตนเองอยู่ ตามความคาดหวังของครอบครัวและสังคม โดยไม่คำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นขณะนั้นหรือภายหลังก็ตาม  จะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคมโดยคำนึงถึงจิตใจของผู้อื่น
   ขั้นที่3 ความคาดหวังและการยอมรับในสังคม 10-15ปี
     บุคคลจะใช้หลักทำตามที่ผู้อื่นเห็นชอบ ใช้เหตุผลเลือกทำในสิ่งที่กลุ่มยอมรับโดยเฉพาะเพื่อน เพื่อเป็นที่ชื่นชอบและยอมรับของเพื่อน


   ขั้นที่4 กฎและระเบียบ อายุ13-16ปี
     ขั้นนี้แสดงพฤติกรรมเพื่อทำตามหน้าที่ของสังคม โดยบุคคลรู้ถึงบทบาทและหน้าที่ของเขาในฐานะเป็นหน่วยหนึ่งของสังคมนั้น จึงมีหน้าที่ทำตามกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่สังคมกำหนดให้ หรือคาดหมายไว้




ระดับที่3  ระดับเหนือกฎเกณฑ์สังคม
   พัฒนาการทางจริยธรรมระดับนี้ เป็นหลักจริยธรรมของผู้มีอายุ ๒๐ ปี ขึ้นไป ผู้ทำหรือผู้แสดงพฤติกรรมได้พยายามที่จะตีความหมายของหลักการและมาตรฐานทางจริยธรรมด้วยวิจารณญาณ ก่อนที่จะยึดถือเป็นหลักของความประพฤติที่    จะปฏิบัติตาม
    ขั้นที่สัญญาสังคมอายุ 20ปี ขึ้นไป
      บุคคลจะมีเหตุผลในการเลือกกระทำโดยคำนึงถึงประโยชน์ของคนหมู่มาก ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น สามารถควบคุมตนเองได้ เคารพการตัดสินใจที่จะกระทำด้วยตนเอง


   ขั้นที่หลักการคุณธรรมสากลอายุ 20ปี ขึ้นไป
     ขั้นนี้แสดงพฤติกรรมเพื่อทำตามหลักการคุณธรรมสากล โดยคำนึงความถูกต้องยุติธรรมยอมรับในคุณค่าของความเป็นมนุษย์ ละอายและเกรงกลัวต่อบาป พบในวัยผู้ใหญ่ที่มีความเจริญทางสติปัญญา



   สรุป
      โคลเบิร์ก เชื่อว่า พัฒนาการทางจริยธรรมจะมีความเกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางด้านความคิดเป็นเหตุเป็นผล บุคคลจะมีพัฒนาการทางจริยธรรมเป็นไปตามลำดับ ไม่มีการข้ามขั้น












วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ทฤษฎีของ โรเบิร์ต เจ. ฮาวิกเฮิร์ส

นักทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการ

ทฤษฎีของ โรเบิร์ต เจ. ฮาวิกเฮิร์ส

แนวคิดของโรเบิร์ต  เจ. ฮาวิกเฮิร์ส
 ศาสตราจารย์โรเบิร์ต ฮาวิกเฮิร์ส  (Robert havighurst 1953-1972) ได้ให้ชื่อว่า งานที่มนุษย์ทุกคนจะต้องทำตามวัยว่า  งานพัฒนาการ หมายถึง  งานที่ทุกคนจะต้องทำในแต่ละวัยของชีวิต  สัมฤทธิ์ผลของงานพัฒนาการของงานแต่ละวัย    มีความสำคัญมากเพราะเป็นของการเรียนรู้งานพัฒนาขั้นต่อไป

ตัวแปรที่สำคัญในการพัฒนามี  3  อย่าง
  1.  วุฒิภาวะทางร่างกาย
  2.  ความมุ่งหวังของสังคมและกลุ่มที่แต่ละบุคคลเป็นสมาชิกอยู่
  3.  ค่านิยม แรงจูงใจ ความมุ่งหวังส่วนตัวและความทะเยอทะยานของแต่ละบุคคล
    3.1  ความพร้อมเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ  
    3.2  ความพร้อมเกิดจากการกระตุ้น  

การแบ่งพัฒนาการของมนุษย์
    พัฒนาการของมนุษย์ แบ่งออกเป็น 4 ด้านใหญ่ๆ คือ
 1.  พัฒนาการทางกาย เป็นการแบ่งพัฒนาการของมนุษย์ตามขั้นตอนในแต่ละวัน
 2.  พัฒนาการทางด้านความคิดหรือสติปัญญา ของเพียเจท์
 3.  พัฒนาการทางด้านจิตใจ ซึ่งแบ่งย่อยเป็น 
     3.1  พัฒนาการทางด้านจิตใจ-เพศ  ของฟรอยด์ 
     3.2  พัฒนาการทางด้านจิตใจ-สังคม  ของอีริคสัน 
 4.  พัฒนาการด้านจริยธรรม ของโคลเบริ์ก

พัฒนาการตามวัย
  ตามแนวความคิดของฮาวิคเฮอร์ท (Hovighurst) ได้แบ่งพัฒนาการของมนุษย์ออกเป็นวัยต่างๆได้ดังนี้
1.วัยเด็กเล็ก-วัยเด็กตอนต้น(แรกเกิด- 6 ปี) ในวัยนี้จะมีงานที่สำคัญดังนี้
   - การเรียนรู้ทางด้านร่างกาย เช่น การยกศีรษะ คลาน การทรงตัว การเดิน
   - การเรียนรู้ทางด้านการเปล่งเสียง การพูด
   - การเรียนรู้ในเรื่องการควบคุมการขับถ่าย
    
   
2.  วัยเด็กตอนกลาง (6-18 ปี) ในวัยนี้จะมีงานที่สำคัญ ดังนี้
    - พัฒนาทักษะทางด้านกายภาพ
   - เรียนรู้ที่จะแสดงบทบาทให้เหมาะสมกับเพศของตนเอง
   - พัฒนาในเรื่องการปรับตัวเข้ากับเพื่อนรุ่นเดียวกัน



3. วัยรุ่น (12-18 ปี) พัฒนาการที่สำคัญของบุคคล ในวัยนี้ คือ
  - พัฒนาความคิดรวบยอดและทักษะในการแก้ปัญหา
  - สามารถสร้างความสัมพันธ์อันดีและเหมาะสมกับเพื่อนรุ่นเดียวกัน ทั้งเพศเดียวกันและต่างเพศได้
  - พยายามปรับตัวเองให้เข้ากับการเปลี่ยนทั้งทางด้านร่างกายและอารมณ์  



4.  วัยผู้ใหญ่ตอนต้น  (18-35 ปี)  ในวัยนี้จะมีลักษณะที่สำคัญ  ดังนี้
      - เริ่มต้นประกอบอาชีพ
      - เริ่มสร้างครอบครัวของตนเอง
      - เรียนรู้ที่จะมีชีวิตร่วมกับคู่แต่งงาน



5. วัยกลางคน (35-60 ปี) งานที่สำคัญในวัยนี้ คือ
     - มีความรับผิดชอบต่อสังคม
     - มีความพยายามในการสร้างฐานะทางเศรษฐกิจ เพื่อความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว
     - รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ได้มากขึ้น
     - สามารถปรับตัวและทำความเข้าใจคู่ชีวิตของตนเองให้ได้



6. วัยชรา  (อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป)  งานที่สำคัญในวัยนี้ คือ
      - สามารถปรับตัวกับสภาพร่างกายที่เสื่อมถอยลง
      - สามารถปรับตัวได้กับการเกษียณอายุการทำงาน
      - สามารถปรับตัวได้กับการตายจากของคู่ครอ










 







              

ทฤษฎีพัฒนาการทางจิต-สังคมอีริคสัน



นักทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการ

ทฤษฎีพัฒนาการทางจิต-สังคมอีริคสัน


ประวัติความเป็นมา  Erikson
    อิริคสัน ค.ศ.1902 เป็นนักจิตวิเคราะห์ที่มีชื่อของอเมริกา  และจัดอยู่ในกลุ่ม ฟรอยด์รุ่นใหม่  เกิดที่เมืองแฟรเฟิต  ประเทศเยอรมัน  ต่อมาได้ย้ายไปอยู่ประเทศอเมริกาในปี  ค.ศ. 1933 และเป็นผู้วิเคราะห์เกี่ยวกับเด็กเป็นคนแรกในนครบอสตัน  เห็นว่าการจะทำความเข้าใจพฤติกรรมเด็ก จะต้องศึกษาจากการอบรมเลี้ยงดู  สภาพสังคม  และความเป็นอยู่ของเด็ก  ปัญหาที่นำมาวิเคราะห์นั้นจะอธิบายเชื่อมโยงระหว่างจิตวิทยากับสังคมวิทยาในรูปแบบของมนุษย์วิทยา

ทฤษฎีจิตสังคม ( Psychological Theory )แบ่งขั้นพัฒนาการทางบุคลิกภาพเป็น 8 ขั้น 

ขั้นที่ 1 อายุ 1-2 ขวบ ความไว้วางใจ-ความไม่ไว้วางใจ                                                   ซึ่งเป็นขั้นในวัยทารกอีริคสันถือว่าเป็นรากฐานที่สำคัญของการพัฒนาในวัยต่อไป เด็กวัยทารกจำเป็นจะต้องมีผู้เลี้ยงดูเพราะช่วยตัวเองไม่ได้ ผู้เลี้ยงดูจะต้องเอาใจใส่เด็ก




ขั้นที่ 2 อายุ 2-3  ขวบ เป็นตัวของตัวเองอย่างอิสระ-ความสงสัยไม่แน่ใจตัวเอง                        วัยนี้เป็นวัยที่เริ่มเดินได้ สามรถที่จะพูดได้และความเจริญเติบโตของร่างกายช่วยให้เด็กมีความอิสระพึ่งตัวเองได้และมีความอยากรู้อยากเห็น อยากจับต้อง



ขั้นที่ 3 อายุ 4-5  ขวบ การคิดเป็นผุ้คิดริเริ่ม-การรู้สึกผิด   
    เป็นวัยที่เด็กมีความคิดริเริ่มอากจะทำอะไรด้วยตนเอง จากจินตนาการของตนเอง การเล่นสำคัญมากสำหรับวัยนี้เพราะเด็กจะได้ทดลองทำสิ่งต่างๆจะสนุกจากการสมมุติของต่างๆเป็นของจริง




ขั้นที่ 4 อายุ 6-11  ขวบ ความขยันหมั่นเพียรกับความรู้สึกต่ำต้อย 
  เด็กจะเริ่มมีทักษะทางด้านร่างกายและสังคมมากขึ้น โดยไม่ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่เด็กเริ่มมีการแข่งขันกันในการทำงาน เด็กวัยนี้จะชอบให้คนชม ถ้าขาดการสนับสนุนอาจทำให้เกิดุวามรู้สึกมีปมด้อย




ขั้นที่ 5 อายุ 11-15  ขวบ ความเป็นอัตลักษณ์กับความสับสนในบทบาท  
   ระยะมีเอกลักษณ์ของตนเองกับความไม่เข้าใจตอนเอง เป็นระยะที่เด็กเริ่มสนใจเพศตรงข้ามรู้จักตนเอง ว่าเป็นใคร ถนัดด้านใด สนใจอะไร และถ้าเด็กมีความรู้สึกไม่เข้าใจตนเองก็จะเกิดความสับสนในตนเอง และล้มเหลวในชีวิต




ขั้นที่ 6 อายุ 20-35  ปี ผูกพันหรือตีตัวออกห่าง  
   เป็นวัยที่ทั้งชายและหญิงเริ่มที่จักตนเองว่ามีจุดมุ่งหมายในชีวิตอย่างไร เป็นวัยที่พร้อมที่จะมีความสัมพันธ์กับเพื่อนต่างเพศในฐานะเพื่อนสนิทที่จะเสียสลละให้กันและกัน และมีความคิดตั้งตนเป็นหลักฐานหรือคิดสนใจที่จะแต่งงานมีบ้านของตนเอง




ขั้นที่ 7 อายุ 35-45  ปี ให้กำเนิดหรือหมกหมุ่นในตัวเอง
  เป็นระยะให้กำเนิดและเลี้ยงบุตร วัยผู้ใหญ่ถึงวัยกลางคนมีครอบครัวมีบุตรทำหน้าที่ของพ่อแม่




ขั้นที่ 8 อายุ 45  ปีขึ้นไป มีศักดิ์ศรีหรือหมดหวัง  
  บุคลิกภาพของคนวัยนี้มักจะเป็นผลรวมของวัย 7 วัยที่ผ่านมา ผู้อาวุโสบางท่านยอมรับว่าได้มีชีวิตที่ดีและได้ทำดีที่สุดยอมรับว่าตอนนี้แก่แล้วและจะมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุขจะเป็นนายของตัวเองและมีความพอใจในสภาพชีวิตของตน








                                                 

ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์

นักทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการ


ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์



ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์
ซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) เป็นนายแพทย์ จิตแพทย์ และนักจิตวิทยาชาวออสเตรีย
เกิดเมื่อวันที่   06 พฤษภาคม ค.ศ. 1856
และเสียชีวิตเมื่อวันที   23 กันยายน ค.ศ. 1939
เป็นผู้สร้างทฤษฎีจิตวิเคราะห์
ซึ่งเป็นทฤษฎีทางด้านการพัฒนา Psychosexual


ฟรอยด์ได้กล่าวถึงพลังงานพื้นฐานทางจิตที่เรียกว่า  Libido ซึ่งเกิดมาพร้อมกับมนุษย์ พลังงานเหล่านี้เป็นแหล่งของแรงขับทางเพศของบุคคลทั้งหมด  โดยเน้นว่าชีวิตเพศของมนุษย์มิได้เริ่มเมื่อวัยหนุ่มสาว  หากแต่เริ่มมาตั้งแต่เด็กและจะค่อยๆ  พัฒนาเปลี่ยนรูปแบบเป็นลำดับขั้นขึ้นไป  แต่ถ้าการเปลี่ยนแปลงไม่เป็นไปตามขั้นจะมีการชะงัก (Fixation) หรือการถอยกลับ (Regression) ทำให้มีผลทะท้อนไปถึงบุคลิกภาพตอนโต

ฟรอยด์ได้แบ่งขั้นพัฒนาการทางเพศไว้  5  ขั้นตอน คือ
 1.ขั้นความสุขความพอใจบริเวณปาก
     มีอายุอยู่ในช่วงแรกเกิด-18 เดือนหรือวัยทารก ความพึงพอใจของวัยนี้จะอยู่ที่บริเวณช่องปาก ทารกพึงพอใจกับการใช้ปากทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสุข เช่น การดูด กลืน


2.ขั้นความสุขความพอใจบริเวณทวารหนัก          
            มีอายุอยู่ในช่วง 18 เดือน ถึง 3 ปี วัยนี้จะได้รับความพึงพอใจจากการขับถ่าย

3.ขั้นความพอใจบริเวณอวัยวะเพศ    
           จะอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 3 ถึง 5 ปี ความพึงพอใจของเด็กวัยนี้อยู่ที่อวัยวะสืบพันธุ์ เด็กจะสนใจอวัยวะเพศของตนและสนใจความความแตกต่างระหว่างเพศหญิงและเพศชาย
                                                                         


4.ขั้นแฝงหรือขั้นก่อนวัยรุ่น   
          มีอายุอยู่ในช่วง 7 ถึง 14 ปี ฟรอยด์กล่าวว่าเด็กวัยนี้จะมุ่งความสนใจไปที่พัฒนาการด้านสังคมและด้านสติปัญญา เป็นวัยที่พร้อมจะเรียนรู้การมีเหตุผล รู้ผิดชอบชั่วดี สนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัว

 5.ขั้นสนใจเพศตรงข้ามหรือขั้นวัยรุ่น
     วัยนี้เป็นวัยรุ่นเริ่มตั้งแต่อายุ 12 ปีขึ้นไป เด็กเริ่มสนใจเพศตรงข้าม มีแรงจูงใจที่จะรักผู้อื่น มีความต้องการทางเพศ ความเห็นแก่ตัวลดลงต้องการเป็นอิสระจากพ่อแม่ เป็นระยะเริ่มต้นของวัยผู้ใหญ่
                                                                                                


โครงสร้างบุคลิกภาพ (The personality structure)
   ฟรอยด์มีความเชื่อว่า ลักษณะจิตใจของบุคคลสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
   1.อิด (Id) เป็นเสมือนแรงจูงใจที่จะทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เป็นความต้องการของร่างกาย
   2.อีโก้ (Ego ) เป็นสิ่งที่จะทำห้อิดบรรลุตามจุดมุ่งหมาย
   3.ซุปเปอร์อีโก้ (Superego) เป็นส่วนที่เป็นมโนธรรมและศีลธรรม
 การทำงานของคนทั้ง 3 ประการจะพัฒนาบุคลิกภาพของบุคคลให้เด่นไปด้านใดด้านหนึ่งของทั้ง 3 ประการนี้ แต่บุคลิกภาพที่พึงประสงค์ คือ การที่บุคคลสามารถใช้พลังอีโก้เป็นตัวควบคุมพลังอิด และซูเปอร์อีโก้ให้อยู่ในภาวะที่สมดุลได้